การใช้ภาษาแสดงออกทางความคิด | ||||||||||||
มนุษย์สามารถใช้ภาษาแสดงออกทางความคิดของตนได้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ คือ 1.ใช้ภาษาแสดงเหตุผล 2.ใช้ภาษาแสดงทรรศนะ 3.ใช้ภาษาในการโต้แย้ง 4.ใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจ | ||||||||||||
การใช้ภาษาแสดงเหตุผล | ||||||||||||
ความหมายของคำว่าเหตุผล | ||||||||||||
เหตุผล หมายถึง ความคิดอันเป็นหลักทั่วไปกฎเกณฑ์ รวมทั้งข้อเท็จจริง ที่สนับสนุนข้อสรุป ข้อวินิจฉัย ข้อตัดสินใจ หรือข้อยุติ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากเราใช้ เหตุผล ในการสนับสนุน ข้อสรุป เราอาจจะเรียก เหตุผล ว่าข้อสนับสนุนก็ได้ และข้อสรุป เป็นคำกลาง ๆ เป็นศัพท์เฉพาะ ที่เกี่ยวกับการแสดงเหตุผล ในภาษาที่ใช้กันอยู่ตามปกตินั้นอาจเรียกว่า ข้อสังเกต,การคาดคะเน, คำวิงวอน, ข้อคิด, หรือการตัดสินใจ ก็ได้
| ||||||||||||
โครงสร้างของการแสดงเหตุผลและภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล | ||||||||||||
1. โครงสร้างของการแสดงเหตุผล ประกอบด้วย
- ตัวเหตุผล หรือเรีรยกว่า ข้อสนับสนุน - ข้อสรุป 2. ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล มี 4 ลักษณะดังต่อไปนี้ 2.1ใช้สันธานที่จำเป็นบางคำ มักเรียงเหตุผลไว้ก่อนสรุป โดยใช้สันธาน จึง เพราะ เพราะว่า เพราะฉะนั้น เพราะ……จึง หรืออาจเรียงข้อสรุปไว้ก่อนเหตุผล โดยใช้คำสันธาน เพราะ เพราะว่า ทั้งนี้เพราะว่า 2.2 ไม่ใช้สันธาน แต่เรียบเรียงข้อความโดยวางส่วนที่เป็นเหตุผล หรือส่วนที่เป็นข้อสรุปไว้ให้เหมาะสม ผู้ฟังก็จะรับสารได้ว่า ข้อความนั้นเป็นการแสดง เหตุผล อยู่ในตัว เช่น ฉันจะไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใด ๆ เป็นอันขาด ฉันได้รับการสั่งสอนจากคุณแม่ให้สู้เสมอ จะเห็นว่า วรรคแรก เป็นข้อสรุป วรรคที่สอง เป็นเหตุผลที่สนับสนุนข้อสรุป 2.3 ใช้กลุ่มคำเรียงกันบ่งชี้ว่า ตอนใดเป็นเหตุผล หรือข้อสรุป เมื่อต้องการชี้เหตุผลและข้อสรุป ให้ชัดแจ้งลงไป ก็ระบุไปว่า ข้อสรุป ข้อสรุปว่า เหตุผลคือ เหตุผลที่สำคัญคือ 2.4 ใช้เหตุผลหลาย ๆ ประกอบกันเข้า เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ข้อสรุปของตน โดยแยกแยะเหตุผลเป็นข้อ ๆ ไป เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น | ||||||||||||
กระบวนการแสดงเหตุผลและการอนุมาน | ||||||||||||
การอนุมาน หมายถึงกระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่ การอนุมานมี 2 ประเภท คือ การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย และการอนุมานด้วยวิธีอุปนัย | ||||||||||||
การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนรวม ไปหาส่วนย่อยหรือการอนุมาน จากหลักความจริงทั่วไปกับกรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง แล้วอนุมาน ได้ข้อสรุป ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง เช่น
หรืออาจจะใช้วิธีนิรนัยอย่างย่อเป็น ฉันเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้น ฉันต้องการปัจจัยสี่ หรือนี้จะใช้ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เป็นกรณีเฉพาะกี่กรณี ก็ได้ เป็นข้อสนับสนุน เพื่อหาข้อสรุปที่เป็นหลักหรือกฎเกณฑ์ทั่วไป วิธีอุปนัยนี้อาจจะใช้แนวเทียบในการหาข้อสรุปก็ได้
| ||||||||||||
ข้อควรสังเกต ข้อสรุปด้วยวิธีนิรนัย ต้องเป็นเช่นนั้น ,ข้อสรุปด้วยวิธีอุปนัย น่าจะเป็นเช่นนั้น | ||||||||||||
ความหมายของคำ เหตุ และ ผล เหตุ หรือ สาเหตุ หรือมูลเหตุ คือ สิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา ผล หรือ ผลลัพธ์ คือ สิ่งที่เกิดตามมาจากเหตุ การอนุมานโดยพิจารณา สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน การอนุมานด้วยวิธีนี้คือ การอนุมานแบบวิธีอุปนัยนั่นเอง แบ่งได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ 1. การอนุมานจากสาเหตุไปหาผลลัพธ์ เป็นการอนุมานโดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจหาข้อสรุปว่าปรากฎการณ์นั้นทำให้เกิดผลลัพธ์อะไร เช่น ขยันดูหนังสือ (สาเหตุ) -> อนุมาน -> สอบได้ (ผลลัพธ์) 2. การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาสาเหตุ เป็นการอนุมานจากปรากฎการณ์หรือเหตุการณ์ โดยอาศัยความรู้และเข้าใจของเรา เพื่อสืบหาสาเหตุ เช่น ผลการสอบ ไม่เป็นที่พอใจ -> อนุมาน -> ความไม่ประมาท ไม่เอาใจใส่ 3. การอนุมานจากผลลัพธ์ไปหาผลลัพธ์ เป็นการอนุมานจากปรากฎการณ์หรือเหตุการณ์อย่างหนึ่ง ว่าเป็นผลลัพธ์ของสาเหตุใด แล้วพิจารณาต่อไปว่า สาเหตุนั้น อาจจะก่อให้เกิดผลลัพธ์อื่นๆ อีก ตัวอย่างอนุมานเช่น ตกคณิต (ผลลัพธ์) -> อ่อนคณิต (สาเหตุ) -> ตกฟิสิกส์ (ผลลัพธ์) การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลนี้ ช่วยให้รู้จักพิจารณาสังเกตและทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีระเบียบ | ||||||||||||
การใช้ภาษาแสดงทรรศนะ | ||||||||||||
ทรรศนะ คือ ความคิดเห็นที่ประกอบด้วยเหตุผล โครงสร้างของการแสดงทรรศนะ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1.ที่มา คือ ส่วนที่เป็นเรื่องราวต่างๆที่ทำให้เกิดการแสดงทรรศนะ 2.ข้อสนับสนุน คือ ข้อเท็จจริง หลักการ รวมทั้งทรรศนะหรือมติของผู้อื่น ที่ผู้แสดงทรรศนะนำมาใส่ เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตน 3.ข้อสรุป คือ สารสำคัญที่สุดของทรรศนะ อาจเป็นข้อเสนอแนะ ข้อวินิจฉัย หรือ ประเมินค่า | ||||||||||||
ความแตกต่างระหว่างทรรศนะของบุคคล ทรรศนะของคนในสังคม อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 2 ประการคือ 1. คุณสมบัติตามธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่ เชาว์ ปฏิภาณ ไหวพริบ ความถนัด เป็นต้น จะพัฒนาได้ เต็มที่ต้องอาศัยการส่งเสริม และสนับสนุนจากสิ่งแวดล้อม 2. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทำให้บุคคลมีลักษณะแตกต่างกันในเรื่องความรู้ ประสบการณ์ความเชื่อและค่านิยมดังนี้
| ||||||||||||
ประเภทของทรรศนะ | ||||||||||||
1. ทรรศนะเกี่ยวกับข้อเท็จจริง คือ ทรรศนะที่เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ทราบข้อเท็จจริง การแสดงทรรศนะประเภทนี้ จึงเป็นเพียงการสันนิษฐาน จะน่าเชื่อถือเพียงใดขึ้นกับข้อสนับสนุน 2. ทรรศนะเกี่ยวกับคุณค่า ค่านิยมเป็นทรรศนะที่ประเมินว่าสิ่งใดดีหรือด้อย เป็นประโยชน์หรือ โทษ 3. ทรรศนะเกี่ยวกับนโยบาย เป็นทรรศนะที่บ่งชี้ว่าควรทำอย่างไร อย่างไรต่อไปในอนาคต หรือ ควรแก้ไขปรับปรุงสิ่งใดไปในทางใด อย่างไร การแสดงทรรศนะ เกี่ยวกับนโยบาย มักจะต้องเสนอข้อเท็จจริง เพื่อสนับสนุนนโยบายและประเมินค่านโยบายที่เสนอนั้นด้วย | ||||||||||||
วิธีใช้ภาษาในการแสดงทรรศนะ | ||||||||||||
ภาษาที่ใช้ในการแสดงทรรศนะนั้น จะต้องใช้ถ้อยคำกะทัดรัด ให้คำที่มีความหมายแจ่มชัด การเรียงลำดับ ความไม่สับสน วกวน และต้องใช้ภาษาให้ถูกต้อง กับระดับการสื่อสาร | ||||||||||||
ลักษณะที่ควรสังเกตในการใช้คำหรือกลุ่มคำในการแสดงทรรศนะ | ||||||||||||
1. ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือคำนามที่ประกอบกับกริยาวลีที่ชี้ชัดว่า เป็นการแสดงทรรศนะ เช่น พวกเรามีความเห็นว่า ……… , ข้าพเจ้าเข้าใจว่า…………… , ผมขอสรุปว่า…………….. 2. ใช้คำหรือวลีที่บ่งชี้ว่าเป็นการแสดงทรรศนะ เช่น คำว่า น่า คง คงจะ ควร พึง ตัวอย่าง เช่น รัฐบาลน่าจะทบทวน……. คณะนักเรียนคงเข้าใจผิดว่า……. , โรงเรียนควรจะต้องคำนึงถึง…….. | ||||||||||||
การประเมินค่าทรรศนะ | ||||||||||||
1. ประโยชน์และลักษณะสร้างสรรค์ ทรรศนะที่ดีควรก่อให้เกิดประโยชน์ และก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่ ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันก็คงสิ่งดีงามของสังคมไว้ 2. ความสมเหตุสมผล ทรรศนะที่ดีจะต้องมีข้อสนับสนุน ที่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้ข้อสรุปน่าเชื่อ 3. ความเหมาะสมกับผู้รับสาระและกาลเทศะ ในการพิจารณา จะต้องพิจารณาด้วยว่าทรรศนะนั้น แสดงแก่ผู้ใดและในโอกาสใด เพื่อจะประเมินได้ว่า เหมาะสมหรือไม่ การใช้ภาษา ภาษาที่ใช้ต้องชัดเจน แม่นตรงตามที่ต้องการ และเหมาะสม แก่ระดับการสื่อสารหรือไม่ เพียงใด | ||||||||||||
การโน้มน้าวใจ | ||||||||||||
การโน้มน้าวใจ คือ การใช้ความพยายามที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติค่านิยมและการกระทำของบุคคลอื่น ด้วยกลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคลนั้น จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการ | ||||||||||||
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์กับการโน้มน้าวใจ | ||||||||||||
ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เป็นแรงผลักดันให้มนุษย์สร้างทัศนคติความเชื่อค่านิยม รวมทั้งกระทำพฤติกรรมอื่นๆ อีกนานัปการ เพื่อสนองความต้องการ ของตน เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ถูกเร้าจนกระจักษ์ว่าถ้าตนได้ปรับเปลี่ยนความคิดและการกระทำไปตามแนวทางที่ถูกรบเร้านั้นแล้ว ตนก็จะได้รับสิ่ง ซึ่งสนองความต้องการ ขั้นพื้นฐาน ตามความปรารถนา เมื่อนั้นมนุษย์ก็จะตกอยู่ในสภาวะที่ถูกโน้มน้าวใจได้ หลักสำคัญที่สุดของการโน้มน้าวใจคือการทำให้มนุษย์ประจักษ์แก่ใจตนเองว่า ถ้าเชื่อเห็นคุณค่าหรือกระทำตามที่ผู้โน้มน้าวใจชี้แจงหรือชักนำ ก็จะได้รับผลที่ตอบสนองความต้องการขึ้นพื้นฐานของตน
| ||||||||||||
การแสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้โน้มน้าวใจ
| ||||||||||||
น้ำเสียงของภาษาที่โน้มน้าวใจ | ||||||||||||
ควรใช้ภาษาในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน หรือเร้าใจซึ่งในการใช้ถ้อยคำให้เกิดน้ำเสียงดังกล่าว จะต้องเลือกใช้คำที่สื่อความหมายตามที่ต้องการ โดยคำนึงถึง จังหวะและความนุ่นนวลในน้ำเสียง | ||||||||||||
การพิจารณาสารโน้มน้าวใจลักษณะต่างๆ
| ||||||||||||
กลวิธีในการโฆษณาชวนเชื่อ
|
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555
การใช้ภาษาแสดงออกทางความคิด
การใช้ภาษาแสดงออกทางความคิด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น